Tips & News » สาระน่ารู้ » เจาะลึก Dual-Clutch มาทำความรู้จักกันทั้งข้อดีและปัญหาของเกียร์ระดับเทพที่มาอยู่ในรถตลาด

เจาะลึก Dual-Clutch มาทำความรู้จักกันทั้งข้อดีและปัญหาของเกียร์ระดับเทพที่มาอยู่ในรถตลาด

9 เมษายน 2019
2537   0

ระบบ Dual-Clutch เป็นอีกหนึ่งเกร็ดความรู้ที่หลายๆคนคงต้องการคำตอบและคลายข้อสงสัยสำหรับ คนที่เคยไปเจอระบบชุดเกียร์ขันเทพของรถสปอร์ทยี่ห้อหนึ่งจากทางฝั่งยุโรปยี่ห้อหนึ่งอย่าง Porsche แต่เอ๊.. มันดีขนาดนั้นเลยหรือถึงได้ไปอยู่ในรถยนต์ระดับราคาหลักหลายๆล้าน? แต่คุณรู้หรือไม่ว่า ในรถตลาดอย่าง Ford และ Volkswagen เอาเป็นว่าบอกกันได้อย่างเต็มปากเลยว่า ทุกอย่างบนโลกนี้นั้นมีข้อดี และก็มีข้อเสีย เลยอยากให้ทุกคนนั้นมาทำความรู้จักกับเจ้าระบบ Dual-Clutch กันก่อนครับ

ระบบ Dual-Clutch เป็นระบบขับเคลื่อนที่ถูกคิดค้นขึ้นครั้งโดย นาย Adolphe Kégresse วิศวกรชาวฝรั่งเศษในช่วงปี 1943 แต่ก็ยังไม่ได้ใช้จริงๆเพราะติดว่าเกิดเหตุการณ์ สงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้นซะก่อนจึงต้องวางโปรเจกต์นี้ออกไป

และระบบแนวคิดของเกียร์ Dual-Clutch นั้นก็ได้ถือกำเนิดขึ้นอีกครั้งภายใต้วิศวกรจากอังกฤษ Harry Webster ผู้สร้างรถยนต์จากทางยี่ห้อ Triumph และก็ได้เริ่มใช้จริงๆครั้งแรกกับรถยนต์ต้นแบบอย่าง Ford Fiesta และ Ranger โดยออกแบบให้เป็นชุดครัชแห้งหลายแผ่นประกบซ้อนกันโดยคำนวนตามแรงบิดของเครื่องยนต์

และได้เริ่มพัฒนาต่อด้วยโครงการของแฮรี่ Volkswagen และ Porsche ได้เริ่มพัฒนาระบบนี้อย่างจริงจังก่อนในช่วงปี 1980 โดยใช้ Porsche 956 และ 962 เพื่อใช่ในการแข่งขัน Le Mans 1983

การออกแบบของชุดเกียร์ Dual-Clutch โดยทั่วไประบบจะเป็นชุดครัชแผ่นเดียวที่ถ่ายทอดพลัง 2 ตำแหน่ง และอาจจะใช้ ครัชหลายๆแผ่นเพื่อรับแรงบิดหรือขนาดของลูกปืนก็ขึ้นอยู่กับแต่ละผู้ผลิตที่จะนำมาใช้กับเครื่องยนต์ของค่ายนั้นๆที่มีกำลังที่ต่างกันออกไป สำหรับ Dual-Clutch ก็ถือว่าเป็นระบบเกียร์อัตโนมัติที่อยู่บนพื้นฐานของเกียร์ธรรมดาจึงทำให้การตอบสนองของเกียร์เป็นไปได้อย่างราบลื่นและรวดเร็วกว่าเกียร์แบบอื่น

การออกแบบให้ระบบ Dual-Clutch มีทั้งครัชแห้งและครัชเปียก แต่ครัชแบบเปียกเป็นครัชที่มีคุณสมบัติระบายความร้อนได้ดีมากกว่าครัชแห้ง แต่ระบบครัชแห้งก็ยังไม่เหมาะสมกับ กับการทำงานของเครื่องยนต์ที่มีแรงบิดสูงมากกว่า 350 นิวตันเมตรขึ้นไป อันที่จริงแล้วระบบ Dual-Clutch แบบแห้งเหมาะสำหรับรถยนต์ที่มีกำลังเครื่องน้อยว่า 350 นิวตันเมตร ซึ่งความโดดเด่นของแบบแห้งนั้นจะมีการตอบสนองในช่วงระยะการเปลี่ยนเกียร์ได้อย่างต่อเนื่องและรวดเร็วกว่าทำให้ประหยัดเชื้อเพลิงตรงตามโจทย์ของตลาดรถยนต์ในปัจจุบัน

หลายครั้งที่แบรนด์ตลาดอย่าง Ford นำ ระบบ Dual-Clutch แบบแห้งไปใส่ในรถตลาดขนาดเล็กอย่าง Ford Fiesta และ Ford Focus จนกลายเป็นปัญหาจนเกิดเสียงวิพากวิจารณ์อย่างหนาหูในแถวยุโรป ในเรื่องของการตอบสนองของเกียร์ว่าบางครั้งการตอบสนองเร็วเกินไป จนทำให้รถนั้นพุ่งทยานออกอย่างรวดเร็วในตอนออกตัว หรือระบบเกียร์ตัดจาก 1 ไป 2 สั้นเกินไปจนทำให้รถกระโจนเกินความจำเป็น จนอาจจะทำให้เกิดอันตรายได้แต่ทางบริษัท Ford เองก็ยังไม่ได้นิ่งนอนใจและกำลังพัฒนาต่อไปในที่สุด