ส่วนประกอบของแบตเตอรี่
แบตเตอรี่รถยนต์ชนิดกรดตะกั่ว เป็นอุปกรณ์เก็บสะสมพลังงานไฟฟ้า เมื่อต่อสายครบวงจร เคมีภายในอุปกรณ์จะทำปฎิกริยาทางเคมีเพื่อดันพลังงานไฟฟ้าออกมาใช้กับอุปกรณ์นั้นๆ
ส่วนประกอบของแบตเตอรี่
แบตเตอรี่รถยนต์ชนิดกรดตะกั่ว เป็นอุปกรณ์เก็บสะสมพลังงานไฟฟ้า เมื่อต่อสายครบวงจร เคมีภายในอุปกรณ์จะทำปฎิกริยาทางเคมีเพื่อดันพลังงานไฟฟ้าออกมาใช้กับอุปกรณ์นั้นๆ
1. เปลือกหม้อแบตเตอรี่รถยนต์ (ฺBattery casing) เป็นกล่องลักษณะสี่เหลี่ยม รองด้วยยางแข็ง และภายใน Case จะแบ่งเป็นช่องๆตามจำนวนเซล เป็นช่องๆ ในลักษณะแนวตั้งเพื่อรองรับแผ่นฉนวน + และ –
2. ฝาแบตเตอรี่ (cell Divider) ฝาเซลล์ทำด้วยยางแข็งที่สามารถทนต่อความร้อนและน้ำกรดได้ ซึ่งจะมีจำนวนรูของฝาจะเท่ากับช่องของเซลล์ ไว้สำหรับจุกฝาของช่องเซลล์
3. แผ่นธาตุลบ (Multi-Plate Negative Electrode) ประกอบไปด้วยผงตะกั่วบริสุทธิ์หรือตะกั่วพรุน ซึ่งมีสีเทา ตะกั่วนี้จับแน่นอยู่ในโครงสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบนมีตารางสี่เหลี่ยมเล็กๆ
โครงสร้างของแผ่น +และ- ในแต่ละชุด จะมีโครงสร้างที่ทำขึ้นจาก ตะกั่วผสมพลวง ในแต่ละแผงจะแยกขั้ว + และ – ไว้คนละฝั่งเสมอ และในแต่ละแผงชุดจะมีแผ่นขั้ว + มากกว่าขั้ว – เสมอ เพราะอนุภาคของขั้ว + จะมากกว่าขั้ว –
4. แผ่นธาตุบวก (Positive ptate) ประกอบด้วยผงตะกั่วเปอร์ออกไซด์ pbo2 มีสีน้ำตาลเข้ม ผงตะกั่วเปอร์ออกไซด์ จะจับอยู่แน่นในโครงสี่เหลี่ยมซึ่งมีตารางสี่เหลี่ยมเล็กๆเหมือนแผ่น – แต่แผ่น + จะเก็บกระแสไฟฟ้า แผ่นตะกั่ว + ที่ดี จะต้องสะอาดและมีรูพรุนมากๆ เพื่อที่จะให้การทำปฏิกิริยาเคมีได้ง่าย
5. แผ่นกั้น (Separators) เป็นแผ่นกั้นซึ่งมีลักษณะฉนวนบางและแบน ผลิตขึ้นจากไม้เซลลูโลส และยางแข็ง แก้ว และพลาสติก แผ่นบางๆเหล่านี้จะกั้นอยู่ระหว่าง แผ่น +และแผ่น- ไม่ให้โดนกัน แผ่นกั้นซีกที่ติดอยู่ทางแผ่นบวกจะมีร่องเล็กๆ ในทางดิ่งทั้งแผ่น ร่องเล็กๆ นี้จะเป็นทางทำให้น้ำกรดเข้าทำปฏิกิริยากับแผ่นบวกได้ดี และยังเป็นทางให้ผงหลุดร่วงจากแผ่นบวกตกลงไปยังส่วนล่างของเปลือกหม้อแบตเตอรี่ ดังนั้นแผ่นบวกจะเสื่อมเร็วกว่าแผ่นลบ ซีกที่ติดอยู่กับแผ่นลบเป็นแผ่นเรียบ แผ่นกั้น จะต้องทนทานถาวร และมีคุณสมบัติให้น้ำกรดซึมผ่านได้ดี และไม่ทำปฏิกิริยากับกรด
6. สะพานรวมแผ่นบวก ลบ (Plate strap Casting) ทำจากตะกั่วผสมพลวง ใช้สำหรับต่อแผ่นบวก แผ่นลบต่างๆเข้าด้วยกัน แผ่นบวกทั้งหมดนำมาต่อกันโดยสะพานรวมแผ่นบวก สะพานรวมแผ่นบวกนี้จะมีขั้วยื่นขึ้นมาเป็นขั้วบวก สำหรับแผ่นลบทั้งหมดนำมาต่อกันโดยสะพานรวมแผ่นลบและมีขั้วยื่นขึ้นมาเป็นขั้วลบ
7. อิเลคทรอไลด์ (Electrolyte) คือน้ำยาที่ผสมขึ้นระหว่างกรดกำมะถัน (H2SO4) กับน้ำกลั่นบริสุทธิ์ (H2SO4) ซึ่งเป็นสื่อไฟฟ้า และเป็นตัวทำปฏิกิริยากับแผ่นบวกและแผ่นลบ ก่อให้เกิดพลังงานไฟฟ้าจ่ายไปใช้งานในอุปกรณ์ต่างๆ น้ำกรดเมื่ออัดไฟเต็มควรมีความถ่วงจำเพาะประมาณ 1.250 ที่ 80 องศาฟาเรนไฮ สำหรับประเทศร้อน และมี ถ.พ. ประมาณ 1.280 ที่ 80 องศาฟาเรนไฮ สำหรับประเทศหนาว และอัตราส่วนผสมของน้ำกรดกำมะถันเมื่อแบตเตอรี่ไฟเต็ม ประมาณ 25% โดยปริมาตร หรือประมาณ 36% โดยน้ำหนัก
8. ขั้วบวกขั้วลบ (Terminal Posts) คือตะกั่วแท่งกลมซึ่งใช้เป็นขั้วบวกและขั้วลบ ซึ่งมีอยู่2แบบ แบบหนึ่งเป็นปลอกตะกั่วหล่อติดกับฝาเซลล์ อีกแบบเป็นปลอก (Soft rubber) ซึ่งอยู่รัดขั้วแน่นเมื่อประกอบแบตเตอรี่เสร็จ
9. สะพานต่อเซลล์ (Cell connector) คือตะกั่วแผ่นช้สำหรับต่อขั้วบวกขั้วลบของแต่ละเซลล์ในแบตเตอรี่ให้เป็นอันดับ
10. จุกปิด (Vent plug) จุกปิดจะทำเป็นเกลียวหมุนเข้าไปในเกลียวของฝาเซลล์ หรือบางแบบเป็นจุกปิดแบบเรียว (Taper) กดลงในฝาเซลล์ จุกปิดจะทำหน้าที่ 2 อย่าง คือ
1. เป็นทางสำหรับตรวจเติมน้ำกลั่น และวัด ถ.พ. ของอิเลคทรอไลด์
2. เป็นรูเล็กๆ ระบายแก๊สไฮโดรเจนและอ๊อกซิเจน ที่เกิดขึ้นภายในหม้อแบตเตอรี่ในระหว่างการอัดไฟ
11. ซิลลิ่งคอมเปาว์ (Sealing Compound) คือยากันซึม ซึ่งจะเทในรองระหว่างฝาเซลล์แต่ละเซลล์ และระหว่างฝาเซลล์กับเปลือกหม้อแบตเตอรี่รถยนต์เพื่อผนึกฝาเซลล์กับตัวเปลือกหม้อแบตเตอรี่รถยนต์ให้สนิทกัน ไมให้อิเลคทรอไลด์รั่วออกมาภายนอก
สำหรับความรู้เล็กๆน้อยๆที่ทีมงาน Sure2Car นำมาฝากให้กับเพื่อนๆ มีความรู้ประดับสมองเบาๆ ครั้งหน้าทีมงาน Sure2Car จะนำความรู้สาระอะไรมากฝากต้องคอยติดตามนะครับ