สำหรับใครหลายคนที่กำลังสงสัยว่า ระบบ Turbo แปรผัน ที่หลายๆค่ายได้พูดถึงบ่อยๆ และได้นำเข้ามาใส่ในรถยนต์หลายๆรุ่น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและพละกำลังให้กับเครื่องยนต์ นั้นมีหน้าตาและการทำงานเป็นอย่างไรบ้าง วันนี้ทีมงาน Sure2Car เว็บไซด์คัดรถมือสองสภาพดี ก็ได้หาคำตอบมาให้เพื่อคลายข้อสงสัยกันครับ
ขอบคุณภาพประกอบจาก motorsolutionfm
ระบบ Turbo แปรผัน หรือ ที่หลายๆยี่ห้อจะเรียกต่างๆกัน ตัวอย่างเช่น ทาง Mitsubishi จะใช้ชื่อเรียกระบบนี้ว่า VG Turbo , Isuzu จะใช้ชื่อเรียกระบบนี้ว่า VGS Turbo, Mazda จะใช้ชื่อเรียกระบบนี้ว่า VGT Turbo และในส่วนของ Toyota จะใช้ชื่อเรียกระบบนี้ว่า VNT Turbo ในแต่ละยี่ห้อได้พัฒนาระบบนี้แตกต่างกันเล็กน้อย เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดของระบบเครื่งยนต์ของแต่ละค่าย นั้นๆ เช่น โดยแต่ละผู้ผลิตมีวิธีการออกแบบที่แตกต่างกัน โดย Garrett BorgWarner และ Mitsubishi จะใช้การเปิด-ปิด ครีบในแนวนอนซึ่งมีความทนทานกว่าและเหมาะสมกับ
เครื่องดีเซลขนาดใหญ่ในรถบรรทุก ในขณะ ที่ครีบ เปิด-ปิด ในแนวตั้งจะเหมาะสำหรับเครื่องดีเซล ขนาดเล็กที่ใช้ในรถยนต์นั่ง
ลักษณะการทำงาน ของระบบ Turbo แปรผัน
ขอบคุณ VDO YOUTUBE id:TurboOSTru
หลักการทำงานของ Turbo แปรผัน
Turbo ก็เสมือนแค่ตัวอัดลมแบบธรรมดา โดยส่วนของ Turbo นั้นจะแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนใบพัดไอดี และ ใบพัดไอเสียจะเชื่อมติดในแกนเดียวกัน โดยท่อไอเสียที่ถูกขับออกจากห้องเผาไหม้ แทนที่จะถูกปล่อยออกทางท่อไอเสียโดยตรง ก็จะถูกนำไปขับผ่านใบพัดไอเสียให้หมุน ใบพัดไอเสียนี้จะเชื่อมติดกับเพลาซึ่งมีใบพัดไอดีอยู่ อีกข้างหนึ่ง เมื่อใบพัดไอเสียหมุนเร็วขึ้นเรื่อยๆก็จะยังผลให้ใบพัดไอดีหมุนตามเร็วขึ้นเท่านั้น การหมุนของใบพัดไอดีจะดูดอากาศผ่านไส้กรองอากาศและอัดอากาศให้หนาแน่นขึ้น ก่อนอัดเข้าห้องเผาไหม้ของเครื่องยนต์ ในเครื่องยนต์เบนซินอากาศที่ถูกอัดจาก Turbo ก่อนเข้าเครื่องยนต์ จึงจำเป็นต้องทำให้อากาศเย็นตัวลงก่อน เพื่อป้องกันการจุดระเบิดก่อนเข้าห้องเผาไหม้ ดังนั้น Intercooler จึงเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นในเครื่องยนต์ โดย Intercooler จะมีลักษณะเหมือนรังผึ้งหม้อน้ำ แต่ใช้อากาศภายนอกเป็นตัวช่วยถ่ายเทความร้อนของอากาศ ภายในหลอดที่ออกจาก Turbo
ขอบคุณรูปภาพจากเว็บไซด์ mekanika
ความแตกต่างระหว่าง ระบบ Turbo แปรผัน ของระบบ เบนซิน และ ดีเซล
และในส่วนของ Turbo แปรผัน ในส่วนของเครื่องยนต์ดีเซล จะมีทั้งระบบ Turbo และ Turbo intercooler เนื่องจากชิ้นส่วนต่างๆของเครื่องยนต์ดีเซลมีความทนทานและแข็งแรงกว่าเครื่องยนต์แบบเบนซินมากกว่า และการทำงานของระบบเครื่องยนต์ดีเซลก็ใช้ระบบการเผาไหม้ด้วยช่วงของจังหวะ ซึ่งทำให้การอัดของลูกสูบ ซึ่งต่างจากการใช้ระบบหัวเทียนเป็นตัวจุดระเบิดในเครื่องยนต์เบนซิน ดังนั้นเครื่องยนต์ดีเซลจึงไม่จำเป็นต้องใช้ Inter Cooler เว้นแต่ผู้ผลิตต้องการให้เครื่องยนต์มีกำลังเพิ่มขึ้นและแรงบิดเครื่องยนต์มากกว่าเดิม ก็สามารถติดตั้งระบบ InterCooler เข้าไปเพิ่ม ขณะเดียวกันก็จำเป็นต้องเพิ่มฺ Boots แรงอัดมากขึ้นพร้อมกับการทดการใช้เชื้อเพลิงให้มากขึ้น ก็จะตั้งระบบการจุดระเบิดที่รุนแรงมากขึ้น เป็นการเพิ่มแรงม้าและแรงบิด ทั้งนี้ชิ้นส่วนภายในจะต้องมีความแข็งมากขึ้นตามไปด้วย นอกจากนี้ผู้ผลิตเครื่องยนต์ก็จะต้องลดกำลังอัดของลูกสูบ ตามไปด้วย เมื่อมีการเพิ่มกำลังอัดจาก Turbo เข้าเครื่องยนต์ ด้วยเหตุนี้ผู้ผลิตเครื่องยนต์จะมีเครื่องยนต์ให้เลือก ทั้งแบบ Turbo ธรรมดาและ Turbo inter cooler ซึ่งมีกำลังสูงกว่าในปัจจุบันเครื่องยนต์ดีเซลขนาดเกิน 85 kw ขึ้นไปจำเป็นต้องมี Inter Cooler ตามมาตรฐานของ euro
และนี่ก็เป็นอีกความรู้ หนึ่งที่พอจะคลายความสงสัยของหลายๆท่านไปได้บ้าง สำหรับที่ใครกำลังอยากจะดูรถมือสองไว้ใช้งาน ก็สามารถนำความรู้เหล่านี้ ไปประกอบกับการเลือกรถมือสองของท่านได้ และครั้งหน้า ทีมงาน Sure2Car จะนำข้อมูลดีๆอะไรมาเสนออีก โปรดติดตามครับ