หน้าที่ของดอกยาง
ดอกยางนั้นมีหน้าที่ เพื่อยึดเกาะถนนและรีดน้ำขณะวิ่งตอนถนนเปียก เพื่อให้หน้ายางสัมพัสพื้นถนนทำให้การเดินทางได้อย่างปลอดภัยไม่ลื่นออกนอกถนน นอกจากนี้ยางยังมีหน้าที่กระจายน้ำหนักให้รถ โดยยางจะทำหน้าที่กระจายแรงทั้งหมดไปยังทิศทางต่างๆ สู่ผิวถนน ยางทุกชนิดจะมีดอกยาง เว้นแต่รถแข่งในสนามแข่งทางเรียบเพราะต้องใช้ความเร็วสูง พื้นถนนต้องแห้ง ยางประเภทนี้เรียกว่า Slick
ดอกยาง คือส่วนบริเวณบนหน้ายาง และมีหน้าสัมผัสถนนตลอดเวลาที่รถวิ่ง
ร่องยาง คือร่องลึกลงไปจากหน้ายาง หรือร่องที่อยู่ระหว่างยาง
ร่องยางที่ตื้น (ดอกยางหมด) จะทำให้ยางรีดน้ำได้น้อยและลื่นเมื่อเจอสภาพถนนที่เปียกหรือฝนตก เพราะร่องยางมีหน้าที่ไว้รีดน้ำ หากมีร่องยางที่ตื้นน้ำที่แทรกอยู่ระหว่างหน้ายางกับพื้นถนน จะทำให้ผิวสัมพัสหน้ายางกับพื้นถนนลดลง จึงทำให้ขณะที่รถวิ่งเกิดอาการลื่นไถล แต่ถ้าวิ่งในถนนที่แห้งและแดดจัด จะวิ่งได้ดีกว่าเพราะยางมีหน้าสัมผัสพื้นถนนมากกว่า ดอกยางที่ดีควรลึกไม่น้อยกว่า 3 มม. ซึ่งขึ้นอยู่กับความลึกของน้ำบนผิวถนนและความเร็วของรถด้วยส่วนอายุของยางไม่ควรเกิน 5 ปี นับจากวันผลิต หากครบหรือเกินควรรีบเปลี่ยนทันที
ยางรถยนต์ที่ใช้บนถนนที่เรียบ
ดอกยางควรเป็นดอกละเอียด ร่องยางไม่ห่าง เพื่อไม่ให้เสียผิวสัมผัสกับหน้าถนนมากจนเกินไป และยังสามารถรีดน้ำออกได้เร็ว ไม่มีเสียงรบกวน
ยางรถยนต์ที่ใช้งานออฟโรด
ดอกยางควรมีดอกยางที่ใหญ่และมีร่องยางห่าง เพื่อเน้นสลัดโคลน หิน หรือน้ำ หากใช้ดอกละเอียด เศษโคลนหรือหิน กรวดอาจเข้าไปติดตามดอกและร่องยาง จนหน้ายางลื่น และถ้านำดอกยางที่ใหญ่มาใช้ทางเรียบ ร่องยางที่ห่างทำให้ผิวสัมผัสน้อย การยึดเกาะถนนก็น้อยตามไปด้วยและในช่วงที่ใช้ความเร็วสูงจะมีเสียงดัง
ยางรถยนต์ที่ใช้งานสำหรับเส้นทางกึ่งลุย กึ่งเรียบ
สำหรับยางประเถทนี้ เมื่อนำไปใช้บนทางเรียบ การยึดเกาะดีระดับหนึ่งและมีเสียงรบกวนอยู่บ้าง ในขณะที่นำไปใช้บนเส้นทางสมบุกสมบัน เช่น ทางลูกรัง หิน กรวด ทราย ก็ใช้งานได้ดี
ประเภทของดอกยาง แบ่งออกเป็น 4 ประเภท
ดอกบางแบบละเอียด (rib pattern)
มีดอกยางและร่องย่างเป็นแนวแถวเส้นรอบวงของยาง และมีรูแบบเรียงตัวของร่องยาง ตามการออกแบบของบริษัทผู้ผลิต โดยทั่วไปแล้ว เน้นให้ยางใช้งานได้ดีในสภาพถนนเรียบ
ดอกยางแบบบั้ง (lug pattern)
ดอกยางและร่องยางเป็นแนวขวาง กับเส้นรอบวงของยาง ซึ่งการออกแบบยางเช่นนี้ต้องการประสิทธิ์ภาพในการตะกุย อีกทั้งร่องยางทีความลึก ทำให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน เหมาะสำหรับใช้งานบนถนนที่ขรุขระ และทางเรียบในความเร็วต่ำ และปานกลาง
ดอกยางแบบผสม (rib lug pattern)
เป็นการผสมจุดเด่นของยางทั้งสองแบบ โดยดอกละเอียดจะอยุ่ตรงกลางโดยมีดอกบั้งอยู่รอบนอกทั้งสองด้าน
ดอกยางแบบบล๊อค (block pattern)
ดอกยางประเภทนี้มีลักษณะเป็นจุด หรือก้อน อาจมีรูปทรงแบบวงกลม หรือเหลี่ยมก็ได้ ให้แรงตะกุยสูง เหมาะสำหรับใช้งานแบบออฟโรดทั้งลุย โคลนและทราย
นอกจากนี้ดอกยางรถยนต์ยังแบ่งตามลักษณะของดอกยางได้อีก 3 ลักษณะคือ
- ดอกแบบ 2 ทิศทาง ดอกยางประเภทนี้จะสามารถทำการสลับยางได้ทุกตำแหน่ง ลักษณะดอกยางสวนทางกัน จึงไม่เน้นในเรื่องความเร็วสูงมากนัก แต่ก็ใช้ได้อย่างสะดวกสบาย
- ดอกแบบทิศทางเดียวกัน ยางมีลักษณะเป็นไปทิศทางเดียวกัน ยังมีสัญลักษณ์ลูกศร บริเวณแก้มยาง เพื่อบอกตำแหน่งของทิศทางของการหมุนล้อให้เราสามารถใส่ได้ถูกต้อง ดอกยางประเภทนี้สามารถรีดน้ำได้ดีกว่า แบบ 2 ทิศทาง เพื่อควบคุมการขับขี่ได้อย่างมั่นคงและสามารถใช้ความเร็วสูงได้ดี
- ดอกยางแบบไม่สมมาตรกัน ลายดอกยางด้านในและด้านนอกจะมีความแตกต่างกัน เกิดจากการออกแบบให้หน้ายางด้านในเกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการขับขี่ทางตรง และทำความเร็วสูง ขณะที่หน้ายางด้านนอกจะทำหน้าที่ยึดเกาะถนนบนทางโค้งให้ดียิ่งขึ้น ยางประเภทนี้เหมาะสำหรับขับในเมืองที่มีโค้งเยอะๆ
ก็เป็นอีกหนึ่งบทความที่จะทำให้เราตัดสินใจว่าจะซื้อยางประเภทไหนมาใช้ให้เหมาะกับรถยนต์ของเรา ถ้าแนะนำยางมือสอง หรือยางเปอร์เซ็น ทางทีมงานไม่แน่นำให้ใช้ควรเปลี่ยนยางใหม่เพื่อความปลอดภัย
Tips&Trick By ทีมงาน กฤษฎากู๊ดคาร์ สาระดีๆ ที่ทางเราอยากบอกต่อ